
ระบบเผยแพร่ผลงานวิชาการโรงพยาบาลราชวิถี
Rajavithi Hospital Library Publication
วันที่เผยแพร่ | เลขที่ | เรื่อง | ผู้นิพนธ์ | แผนก | บทคัดย่อ | ดาวน์โหลด | ภาษา |
---|---|---|---|---|---|---|---|
01-Dec-23 | 2557/1 | Nutrition and Clinical Outcomes in Critically Ill Surgical Patients in Rajavithi Hospital (ภาวะโภชนาการและผลลัพธ์ทางการรักษาของผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมในโรงพยาบาลราชวิถี) | พัทธวุฒิ จันทูปมา, พบ. | งานศัลยศาสตร์ทั่วไป กลุ่มงานศัลยศาสตร์ | ภูมิหลัง: ในปัจจุบันการประเมินภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นการรักษาพื้นฐาน ทำให้ตรวจพบภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยจำนวนมากซึ่งสัมพันธ์กับการนอนโรงพยาบาลที่นานขึ้น ภาวะทุพโภชนาการยังสัมพันธ์กับ อัตราการเสียชีวิตรวมถึงอัตราการพิการหลังการผ่าตัดโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤต และการให้การรักษาด้วยโภชนบำบัดสามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ภาวะพิการ และ อัตราการเสียชีวิตได้ โดยในการศึกษานี้มีจุดประสงค์คือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโภชนาการ และ ผลลัพธ์ทางการรักษาของผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมในโรงพยาบาลราชวิถี การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโภชนาการ ผลลัพธ์หลังจากผู้ป่วยได้รับโภชนบำบัด และ ผลลัพธ์ทางการรักษาของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในหอผู้ป่วยศัลยกรรมโรงพยาบาลราชวิถี วิธีการ: เป็นการศึกษาแบบ retrospective cohort study เก็บข้อมูลตั้งแต่ สิงหาคม 2017 ถึง สิงหาคม 2020 ในผู้ป่วยวิกฤตทางศัลยกรรม โรงพยาบาลราชวิถี และ เก็บข้อมูลอัตราการเสียชีวิตที่ 30 วัน ถึง 30 กันยายน 2020 โดยข้อมูลได้จากบันทึกทางการแพทย์ ผล: ผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการ 246 ราย โดยแบบเป็น รุนแรง 22 ราย ปานกลาง 23 ราย มีผู้ป่วย 219 รายได้รับการดูแลทางโภชนบำบัด ผลการวิจัยพบว่า ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดระหว่าง ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยโภชนบำบัด (p=0.268) แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของอัตราการเสียชัวิตที่ 30 วัน (p-0.021) สรุป: ภาวะทุพโภชนาการพบได้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต และการรักษาด้วยโภชนบำบัดสามารถลดอัตราการเสียชีวิตที 30 วันได้อย่างมีนัยสำคัญ | Download | |
01-Dec-23 | 2567/2 | ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ | ธนิดา หอมจีน, พย.ม., อัจฉรา นบนอบ, พย.ม., ลัดดาวัลย์ อ้นเมฆ, วท.ม., สุพรรษา ภูธนนันท์, พย.บ., รัชพร ด่านไพบูลย์ผล, พย.บ. | กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยใน | ภูมิหลัง: โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุข ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์และทีมสาธารณสุข เพื่อลดความเสี่ยงจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่ 1) การควบคุมอาหาร 2) การรับประทานยา 3) ความรอบรู้ด้านการเข้าถึงข้อมูล และ 4) ความรอบรู้ด้านความเข้าใจ ผู้วิจัยจึงสนใจส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีทักษะการตัดสินใจ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยใช้โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นแนวทางในการส่งเสริมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย วิธีการ: วิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติ ผล: ภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และค่าระดับน้ำตาลในเลือด ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) สรุป: การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการตัดสินใจด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด | Download | |
08-May-23 | 2566/1 | ผลการรักษาหลอดเลือดแดงใหญ่ด้วยการผ่าตัดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางสายสวนโดยไม่อุดหลอดเลือดแดงใต้กระดูกไหปลาร้าซ้าย | กำพู ฟูเฟื่องมงคลกิจ, พบ. | งานศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก กลุ่มงานศัลยศาสตร์ | ภูมิหลัง: การรักษาหลอดเลือดแดงใหญ่ด้วยการผ่าตัด thoracic endovascular repair สามารถลดอัตราตาย และภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุหรือผ่าตัดฉุกเฉิน การผ่าตัดดังกล่าวมีผลทำให้หลอดเลือด left subclavian artery ถูกอุดกลั้นจากหลอดเลือดเทียม จึงต้องต่อเส้นเลือดบายพาสเพื่อให้มีเลือดไปเลี้ยงแขน ซึ่งอาจทำให้เลือดไหลย้อนและเกิดภาวะแทรกซ้อนกับหลอดเลือดแดงใหญ่ที่มีพยาธิสภาพ ศัลยแพทย์บางท่านเลือกอุดหลอดเลือดดังกล่าวเพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต วิธีการ: ศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยโรงพยาบาลราชวิถี ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2550 ถึง 31 กรกฎาคม 2562 ระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับการบายพาส (revascularization) และกลุ่มที่ไม่ได้บายพาส (non-revascularization) หลอดเลือด left subclavian artery ที่วางหลอดเลือดเทียมบริเวณ zone 1 และ 2 เก็บผลภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดและการรั่วของหลอดเลือดเทียม ผล: ผู้ป่วย 113 ราย ไม่ได้บาสพาย 62 ราย (54.9%) และได้รับการบายพาส 51 ราย (45.1%) ผู้ป่วยกลุ่มบายพาสมีโรคเบาหวานมากกว่า (23.5% vs. 9.7%, P=0.045) ผู้ป่วยกลุ่มบายพาสส่วนใหญ่วางหลอดเลือดเทียมอยู่ที่ Zone 1 (49%) ส่วนกลุ่มไม่บายพาสอยู่ที่ Zone 2 (72.6%) กลุ่มบายพาสจะพบการรั่วของหลอดเลือดเทียมชนิดที่ II สูงกว่า (23.5% vs. 8.1%, P=0.045) ซึ่งหายเองได้ มีเพียง 9.8% ต้องอุดตอของหลอดเลือด จากขนาดหลอดเลือดแดงที่ใหญ่ขึ้นใน 933.02±749.04 วัน ทั้งนี้ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่ต่างกันของสองกลุ่ม เช่น ไขสันหลังขาดเลือด (P=0.889) หลอดเลือดสมองขาดเลือด (P=0.410) และการเสียชีวิต (P=0.584) สรุป: ผู้ป่วยที่ได้รับการทำบายพาสของเส้นเลือด left subclavian artery ในการผ่าตัดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางสายสวนมีอัตราการรั่วของหลอดเลือดชนิดที่ II สูงกว่า ซึ่งส่วนใหญ่สามารถหายได้เอง แต่มีเพียงร้อยละ 4.42 ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดซ้ำ ดังนั้นในการผ่าตัดอาจจะไม่จำเป็นต้องทำการอุดหลอดเลือด left subclavian artery ทุกราย แต่ให้ติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด | Download |